วันศุกร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2557

หะมาส: วิสัยทัศน์โดยสรุป


:: รู้จักหะมาสและวิสัยทัศน์ของหะมาสโดยสรุป ::

1. หะมาส เป็นกลุ่มเคลื่อนไหวของอิควาน อัล-มุสลิมูน (Muslim Brotherhood) หรือเป็นปีกข้างหนึ่งเลยก็ว่าได้ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าอิควาน อัล-มุสลิมูน เป็นขบวนการเคลื่อนไหวระดับโลก มีสาขาอยู่ในนานาประเทศ หรือเป็นกลุ่มเคลื่อนไหวอิสลามที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน

2. หะมาส เป็นกลุ่มที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อการญิฮาด ต่อสู้เพื่อปลดปล่อยแผ่นดินปาเลสไตน์จากการยึดครองของไออนิสต์ มีเงื่อนไขหยุดยิงที่ชัดเจนและมีการพบปะเจรจาเพื่อบรรลุข้อตกลงในการถอดถอนการยึดครองของไซออนิสต์ออกจากแผ่นดินปาเลสไตน์ เสมือนกับสนธิสัญญาฮุดัยบียะฮฺ

3.หะมาสมีความขัดแย้งและเป็นศัตรูต่อยิวไซออนิสต์อย่างชัดเจน มีพื้นที่ในการต่อสู้ที่ชัดเจนอยู่ในเขตปาเลสไตน์ และมียุทธวิธีการต่อสู้ทางการทหารอย่างเป็นระบบ ภายใต้ชื่อหน่วยรบอิซซุดดีน อัล-ก็อซซาม

4. หะมาส เป็นกลุ่มที่ดำเนินตามแนวทางอิสลามในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการเมือง หลักศรัทธา เศรษฐศาสตร์ สังคม การตัรบียะฮฺ (อบรมขัดเกลา) ตุลาการ การปกครอง การเผยแพร่และการศึกษา ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นแขนขาของกลุ่มที่มีส่วนร่วมในสังคมนับสิบองค์กร

5. ความชอบธรรมและการดำเนินการต่าง ๆ ของหะมาสจะอ้างอิงมาจากตัวบทหลักฐานผ่านการตัดสิน (ฟัตวา) จากผู้รู้ภายในเขตที่พวกเขาอาศัย (ปาเลสไตน์) และไม่ใช้แกนนำขบวนการเป็นผู้ตัดสิน

6. หะมาสมีส่วนร่วมทางการเมืองและเชื่อในการเปลี่ยนแปลงผ่านการมีส่วนร่วมโดยตรงในโครงสร้างของรัฐและมีองค์กรเป็นของตัวเอง มีการสรรหาผู้แทนลงสมัครรับเลือกตั้งทางการเมืองและมีส่วนร่วมในรัฐสภา มีรัฐบาลที่ได้มาถูกต้องตามกฎหมาย การเข้าสู่ระบบการเมืองของหะมาส ทำให้หะมาสมีฐานะเทียบเท่ารัฐบาลหนึ่งของโลก จากการที่อิสมาอีล ฮะนียะฮฺ ได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของปาเลสไตน์

7. หะมาสมีความสัมพันธ์ที่เป็นบวกกับนานาประเทศและมีการแลกเปลี่ยนแนวคิดบนพื้นฐานของความยุติธรรมที่มีต่อกัน

8. เหตุการณ์ในซีเรียหะมาสยืนอยู่ข้างฝ่ายต่อต้านรัฐบาลอย่างชัดเจนและเป็นปฏิปักษ์ต่ออิหร่าน-หิซบุลลอฮฺ


Ref: Ummah Islam

มุฮัมมัด อัฎฎ็อยฟฺ อดีตผู้บัญชาการของหน่วยรบอิซซุดดีน อัล-ก็อซซาม

หะมาส ถูกจัดตั้งขึ้นบนรถเข็น (ชัยคฺ อะหฺมัด ยาซีน)
กองกำลังอัล-ก็อซซาม ก็ถูกนำรบด้วยรถเข็น (มุฮัมมัด อัฎฎ็อยฟฺ) 


มุฮัมมัด อัฎฎ็อยฟฺ (เกิดในปี 1960) อดีตผู้บัญชาการของหน่วยรบอิซซุดดีน อัล-ก็อซซาม (ปี 2002-2006) เขาคนนี้มีประสบการณ์ในสนามรบมาก

เขารอดชีวิตจากการถูกกองกำลังอิสราเอลโจมตีถึง 4 ครั้ง แต่ 2 ครั้งที่สาหัสที่สุดคือในวันที่ 27 กันยายน ปี 2002 และวันที่ 12 กรกฎาคม ปี 2006 ครั้งหลังนี้เขาบาดเจ็บสาหัสบริเวณกระดูกสันหลังและสูญเสียขาทั้งสองข้าง กลายเป็นผู้พิการต้องนั่งบนรถเข็น แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้เขายุติเส้นทางการต่อสู้

เขากล่าวว่า "กองกำลังอัล-ก็อซซาม พร้อมที่สุดที่จะเดินหน้าต่อไปบนเส้นทางสายพิเศษนี้ เราไม่มีทางเลือกอื่น นี่เป็นเส้นทางของการญิฮาด เป็นการต่อสู้กับศัตรูของมุสลิมและมนุษยชาติ เราบอกกับศัตรูของเราว่า : เราอยู่บนทางผ่าน (สู่ความตายและโลกหน้า) และปาเลสไตน์จะยังคงอยู่ รวมทั้งอัล-กุดส์ (เยรูซาเล็ม), มัสญิดอัล-อักศอ, เมืองและหมู่บ้านจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจรดแม่น้ำจอร์แดน จากเหนือจรดใต้ พวกท่านไม่มีสิทธิที่จะครอบครองมันแม้เพียงตารางนิ้วเดียว"

............................
Ummah Islam

http://bit.ly/1yjNABf
http://bit.ly/1onesAw

วันจันทร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2557

คอลิด มัชอัล - ผู้บัญชาการแห่งหะมาส



คอลิด มัชอัล (ฉายาว่า อบุล วะลีด) ผู้นำทางการเมืองของกลุ่มหะมาสที่สำคัญที่สุดในปัจจุบัน มีตำแหน่งทางการเป็นหัวหนัาสำนักงานการเมือง (อัล-มักตับ อัสสิยาสียฺ) ของกลุ่มหะมาส สืบสานจากผู้นำคนก่อนคืออับดุลอะซีซ อัรฺร็อนตีซียฺ ที่ถูกลอบสังหารไปในปี 2004

คอลิด มัชอัล เกิดเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม ปี 1956 ที่เมืองสิลวาด ใกล้กับเมืองรอมัลลอฮฺ ในเขต West Bank ปาเลสไตน์ ในปี 1967 ระหว่างที่เขากำลังศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษาก็ได้เกิดสงครามหกวันขึ้น ทำให้เขาและครอบครัวต้องอพยพลี้ภัยไปยังประเทศคูเวต

คอลิด มัชอัล ได้ศึกษาต่อและสำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาที่ประเทศคูเวต หลังจากนั้นก็เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์ สาขาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยคูเวต ช่วงนี้เองที่เป็นจุดพลิกผันที่สำคัญมากสำหรับชีวิตของเขา นั่นคือการเข้าไปมีบทบาททำกิจกรรมในรั้วมหาวิทยาลัย เขาเริ่มต้นเป็นประธานชมรมกออิมะฮฺ อัล-ฮักกฺ อัล-อิสลามียะฮฺ qa’imat al-haq al-islamiyya (ในภาษาอังกฤษแปลเอาความว่า Islamic Justice หรือ สิทธิอันเที่ยงธรรมแห่งอิสลาม)

ในปี 1977 ชมรมกออิมะฮฺ อัล-ฮักกฺ อัล-อิสลามียะฮฺ ก็ได้ลงสมัครเลือกตั้งเพื่อเข้าไปมีส่วนร่วมกับสหภาพนักศึกษาปาเลสไตน์ [ the General Union of Palestinian Students (GUPS) ] องค์กรนี้เป็นองค์กรนักศึกษาของชาวปาเลสไตน์ในระดับนานาชาติที่มีกิจกรรมมายาวนาน บุคคลสำคัญทางการเมืองของปาเลสไตน์มักผ่านสหภาพนักศึกษาแห่งนี้แม้แต่นายยัซเซอร์ อาราฟัต จึงไม่แปลกที่ขณะนั้นสหภาพถูกบริหารงานโดยกลุ่มนักศึกษาที่นิยมแนวทาง PLO ของยัซเซอร์ อาราฟัต ขณะที่ชมรมกออิมะฮฺ อัล-ฮักกฺ อัล-อิสมียะฮฺ ของคอลิด มัชอัล มีรายชื่ออยู่ในสังกัดของขบวนการอิสลามของปาเลสไตน์ที่ถือว่าเป็นสาขาของภราดรภาพมุสลิมอีกด้วย เป็นที่มาของการแข่งขันระหว่างนักศึกษาสายอิสลามของมิชอัลกับกลุ่มชาตินิยมของ PLO

ชัยคฺ ดร.อับดุลอะซีซ อัรฺ-ร็อนตีซียฺ - ราชสีห์แห่งหะมาส


ชัยคฺ ดร.อับดุลอะซีซ อัรฺ-ร็อนตีซียฺ (อับดุลอะซีซ อะลี อับดุลมะญีด อัรฺ-ร็อนตีซียฺ) เกิดวันที่ 23 ตุลาคม 1947 ในหมู่บ้านยิบนา ปาเลสไตน์ ซึ่งอยู่ใกล้กับเมืองจัฟฟา

ในปี 1948 ครอบครัวของท่านได้ลี้ภัยไปยังฉนวนกาซา ช่วงปี 1956 ขณะที่ท่านอายุ 9 ขวบ ลุงของท่านได้เสียชีวิตจากการสังหารหมู่ของทหารอิสราเอลในเมืองคาน ยูนิส ซึ่งเป็นที่ตั้งของศูนย์อพยพลี้ภัยทางตอนใต้ของฉนวนกาซา

ชัยคฺ อับดุลอะซีซ อัรฺ-ร็อนตีซียฺ เข้าศึกษาในสาขากุมารเวชศาสตร์และพันธุศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยอเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์ และจบการศึกษาเป็นคนแรกในรุ่น ในช่วงเวลาที่ท่านอยู่ที่อียิปต์ท่านได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของ Muslim Brotherhood

ชัยคฺ อะหฺมัด ยาสีน - ผู้นำทางจิตวิญญาณแห่งปาเลสไตน์


ชัยคฺ อะหฺมัด ยาสีน (อะหฺมัด อิสมาอีล หะสัน ยาสีน) เกิดปี 1938 ในหมู่บ้านญูเราะฮฺซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของฉนวนกาซา พ่อของท่านเสียชีวิตขณะที่ท่านมีอายุได้ประมาณ 3 ขวบ

ปี 1948 ช่วงสงครามอาหรับ-อิสราเอล ครอบครัวของท่านต้องย้ายออกจากหมู่บ้านไปอยู่ในค่ายลี้ภัยอัล-ชาฏิอ์ ในฉนวนกาซา เนื่องจากกองกำลังป้องกันอิสราเอลเข้าไปบุกยึด

ขณะที่ท่านมีอายุได้ 12 ปี แขนและขาของท่านก็เป็นอัมพาตต้องนั่งรถเข็นเนื่องจากประสบอุบัติเหตุขณะเล่นกีฬากับเพื่อน ท่านไม่สามารถเดินทางไปเรียนได้เนื่องจากปัญหาสุขภาพจึงศึกษาจากการอ่านหนังสือด้วยตนเองที่บ้าน โดยเฉพาะหนังสือที่เกี่ยวกับการเมือง สังคมวิทยา เศรษฐศาสตร์ ปรัชญาและศาสนา จนกระทั่งท่านได้รับหน้าที่ให้กล่าวคุฏบะฮฺในละหมาดญุมอัต หลังจากนั้นท่านก็ทำงานเป็นครูสอนภาษาอาหรับในโรงเรียนประถมเขตริมาล ของฉนวนกาซา และสมรสเมื่ออายุ 22 ปี

ปี 1984 ท่านได้เข้าร่วมกับขบวนการ Muslim Brotherhood ในปาเลสไตน์ และถูกจำคุกด้วยข้อหาก่อตั้งขบวนการที่เป็นภัยต่ออิสราเอล และครอบครองอาวุธ และได้รับการปล่อยตัวในปี 1985 ตามข้อตกลงแลกเปลี่ยนนักโทษระหว่างรัฐบาลอิสราเอลกับหัวหน้าขบวนการปลดปล่อยปาเลสไตน์ (PFLP)

ปี 1987 ท่านเข้าร่วมกับขบวนการอินติฟาเฎาะฮฺในการต่อสู้เพื่อต่อต้านการยึดครองปาเลสไตน์ของอิสราเอล และก่อตั้งขบวนการเคลื่อนไหวติดอาวุธเพื่อปลดปล่อยปาเลสไตน์ร่วมกับ ชัยคฺ อับดุลอะซีซ อัรฺ-ร็อนตีซียฺ ภายใต้ชื่อ "หะมาส حماس" (แปลว่า กระตือรือร้น เป็นคำย่อมาจาก حركة المقاومة الاسلامية หะเราะกะฮฺ อัล-มุกอวะมะฮฺ อัล-อิสลามิยฺยะฮฺ) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Muslim Brotherhood และท่านได้กลายเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของหะมาส

ไทม์ไลน์การก่อตั้งรัฐอิสราเอล [4] ::: สงครามโลกครั้งที่ 2 :::



::: สงครามโลกครั้งที่ 2 :::

ปี 1939-1945 [2482-2488]
- เกิดเหตุการณ์พันธุฆาตหรือการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์(The Holocaust)ชาวยิวกว่า 6 ล้านคน โดยกองทัพนาซีและฝ่ายสนับสนุน ซึ่งออกคำสั่งโดย อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2

ปี 1939 [2482]
- ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 อังกฤษกับไซออนิสต์ก็ยิ่งดำเนินนโยบายสวนทางกันหนักขึ้น เพราะไซออนิสต์อยากให้ชาวยิวเข้าไปตั้งถิ่นฐานในปาเลสไตน์ ขณะที่อังกฤษพยายามขัดขวาง เนื่องจากเห็นว่าการหลั่งไหลเข้าไปของชาวยิวจะคุกคามต่อเสถียรภาพในภูมิภาคนั้น

ถึงแม้สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างไซออนิสต์กับอังกฤษจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น เดวิด เบน-กูเรียน ผู้นำชาวยิวไซออนิสต์ พยายามโน้มน้าวให้ชาวยิวร่วมรบกับกองทัพอังกฤษต่อสู้กับฮิตเลอร์ โดยประกาศในนามองค์การชาวยิวว่า เราจะช่วยอังกฤษสู้ในสงครามครั้งนี้ เสมือนหนึ่งว่าไม่มีสมุดปกขาว และเราจะสู้กับสมุดปกขาว เสมือนหนึ่งว่าไม่มีสงคราม

ปี 1940-1942 [2483-2485]
- ความพยายามของอังกฤษที่จะกีดกันการอพยพของชาวยิวในยุโรปสู่ปาเลสไตน์ นำไปสู่การจมเรือของผู้อพยพชาวยิว 2 ลำ คือ Patria แพตเรีย (พฤศจิกายน 1940) กับ Struma สตรูมา (กุมภาพันธ์ 1942)

ปี 1944 [2487]
- ขบวนการใต้ดินปีกขวาของชาวยิวในชื่อ Irgun Zvai Leumi (เออร์กุน ซวาอี ลูมี) ภายใต้การนำของ Menachem Begin (เมนาค์เฮม เบกิน) กับกลุ่มก่อการร้าย LEHI (เลฮี) หรือ นักรบเพื่อ อิสรภาพของอิสราเอลได้เปิดฉากโจมตีอังกฤษอย่างหนักเพื่อเป็นการตอบโต้ และจบลงด้วยการสังหาร Lord Moyne (ลอร์ด มอยน์) รัฐมนตรีต่างประเทศของอังกฤษ ด้วยฝีมือของสมาชิกกลุ่มเลฮี 2 คนในเดือนพฤศจิกายน 1944

ปี 1945 [2488]
- สันนิบาตอาหรับ ได้ก่อตั้งขึ้นในเดือนมีนาคม 1945 และแต่งตั้งคณะกรรมการอาหรับ (Arab Higher Committee) ซึ่งประกอบ ด้วยบรรดาผู้นำชาวปาเลสไตน์ขึ้นเป็นปากเสียงแทนชาวอาหรับปาเลสไตน์

::: 2 กันยายน 1945 สงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติ :::

- ประธานาธิบดี แฮรี่ เอส. ทรูแมน (Harry S. Truman) ของสหรัฐ ได้ออกหน้าขอร้องให้นายกรัฐมนตรีของอังกฤษ คลีเมนต์ แอตต์ลี (Clement Attlee) ช่วยรับชาวยิวผู้รอดชีวิต 100,000 คนเข้าไปอาศัยในปาเลสไตน์ และในเดือนธันวาคม วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐ ได้ร้องขอให้มีการรับชาวยิวไม่จำกัดจำนวน เข้าไปอยู่ในปาเลสไตน์เท่าที่ศักยภาพทางเศรษฐกิจของดินแดนนั้นจะรองรับได้ ท่าทีของทรูแมนเป็นการส่งสัญญาณว่า ต่อไปนี้ สหรัฐจะขอเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องอนาคตของปาเลสไตน์ด้วย

ไทม์ไลน์การก่อตั้งรัฐอิสราเอล [3] ::: หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 :::



::: หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 :::

ปี 1925 [2468]
- มีการก่อตั้งกลุ่มไซออนิสต์ใหม่ (Revisionist Zionists) นำโดย Vladimir Jabotinsky (วลาดิมีร์ ยาโบทินสกี) โดยมีเป้าหมายที่จะก่อตั้งรัฐของชาวยิวในดินแดนทั้งหมดของปาเลสไตน์ (ทั้งสองฝั่งของแม่น้ำจอร์แดน) จึงได้จัดตั้งกองกำลังของตนขึ้น ซึ่งพร้อมจะห้ำหั่นชาวอาหรับทุกเมื่อหากขัดขวางความปรารถนา

ปี 1924-1928 [2467-2471]
- ชาวยิวชุดที่ 4 อพยพเข้าดินแดนปาเลสไตน์ (Fourth Aliya) จำนวน 80,000 คน ครึ่งหนึ่งเป็นชาวโปแลนด์

ปี 1929 [2472]
- ชาวยิวรู้ดีว่าเมื่อการปกครองแบบอาณัติสิ้นสุดลง อนาคตของภูมิภาคนี้จะถูกตัดสินด้วยขนาดของประชากรและกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ชาวยิวจึงพยายามอพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐานและซื้อที่ดิน ขณะที่ชาวอาหรับก็พยายามชะลอหรือยับยั้งการกระทำทั้งสองอย่างนี้

ปี 1936 [2479]
- ชาวอาหรับปาเลสไตน์ลุกขึ้นมาต่อต้านการเพิ่มจำนวนอย่างมากมายของชาวยิว

ปี 1937 [2480]
- รัฐบาลอังกฤษได้ส่ง Lord Robert Peel (ลอร์ด โรเบิร์ต พีล) เข้าสอบสวนสถานการณ์รุนแรงซึ่งได้รายงานว่า สาเหตุเกิดจากความปรารถนาของชาวอาหรับที่จะได้เอกราช และความหวั่นเกรงต่อการอพยพของชาวยิวเข้าสู่ปาเลสไตน์ รายงานชี้ว่า ระบบการปกครองแบบอาณัติใช้ไม่ได้ผล และพันธกิจของอังกฤษต่อชาวอาหรับกับชาวยิวก็ไปด้วยกันไม่ได้ ต่างฝ่ายต่างถูกทั้งคู่จึงเสนอให้แบ่งดินแดนปาเลสไตน์เป็นส่วน ๆ นับเป็นครั้งแรกที่อังกฤษพูดชัดเจนถึงการมีรัฐยิว

นอกจากคณะกรรมการสอบสวนชุดนี้จะจัดสรรพื้นที่รัฐยิวให้ในขนาดที่ใหญ่กว่าการถือครองที่ดินของชาวยิวในเวลานั้นแล้ว ยังได้เสนอให้อพยพชาวอาหรับออกจากเขตที่จะให้เป็นรัฐยิวด้วย ผลก็คือยิ่งทำให้สถานการณ์ความขัดแย้งรุนแรงขึ้น ฝ่ายไซออนนิสต์ต่างผนึกกำลังกันภายใต้การนำของ David Ben-Gurion (เดวิด เบน-กูเรียน) และกองกำลังฮากานาห์ก็ได้รับอนุญาตให้ติดอาวุธตนเองได้ กองกำลังนี้ได้ร่วมมือกับอังกฤษโจมตีชาวอาหรับ

ไทม์ไลน์การก่อตั้งรัฐอิสราเอล [2] ::: สงครามโลกครั้งที่ 1 :::



 ::: สงครามโลกครั้งที่ 1 :::

ปี 1914 [2457]
- สงครามโลกครั้งที่ 1 Chaim Weizmann (คาอิม ไวซ์มันน์) นักเคมีชาวยิวสมาชิกกลุ่มไซออนิสต์ (ประธานองค์กรไซออนิสต์โลก 2 สมัย และประธานาธิบดีคนแรกของอิสราเอล) เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านวัตถุระเบิด ได้ทำการคิดค้นดินระเบิดประสิทธิภาพสูง ซึ่งสามารถผลิตเองได้โดยใช้วัตถุดิบที่หาได้ง่าย ก่อนหน้านั้นกองทัพอังกฤษใช้ดินระเบิดคอร์ไดท์ ซึ่งอังกฤษผลิตเองได้แต่จำเป็นต้องใช้วัตถุดิบสำคัญคือ อาซีโทน (Acetone) โดยจำเป็นต้องสั่งเข้าจากเยอรมันซึ่งเป็นคู่สงคราม เมื่อไม่มีวัตถุดิบ อังกฤษจึงประสบปัญหาใหญ่ในการทำสงคราม จนกระทั่งได้ ดร.คาอิม มาช่วย

*** ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 เราจะเห็นแผนการอันแยบยลของไวซ์มันน์ ที่ยอมช่วยเหลืออังกฤษ(ฝ่ายพันธมิตร) และสามารถโน้มน้าวอังกฤษจนนำไปสู่คำประกาศบัลฟอร์ ที่เอื้อต่อการเกิดรัฐยิวขึ้นในปาเลสไตน์ (Jewish National Home in Palestine)

ไทม์ไลน์การก่อตั้งรัฐอิสราเอล [1] ::: ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 :::


::: ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 :::

ปี 1825 [2368]
- Mordecai Manuel Noah (มอร์ดีไค มานูเอล โนอาห์) ชาวอเมริกันเชื้อสายยิว นำเสนอ(ที่ Grand Island นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา)ให้ชาวยิวจากทั่วโลกร่วมกันจัดตั้งรัฐยิว

ปี 1839 [2382]
- Sir Moses H. Montefiore (เซอร์ โมเสส มองเตฟิออเร) ชาวยิวอังกฤษ ยื่นข้อเสนอต่อผู้ดูแลอียิปต์ มุหัมมัด อะลีย์ บาชา ขอเช่าพื้นที่ในดินแดนปาเลสไตน์ 50 ปี เพื่อตั้งนิคมยิว

ปี 1862 [2405]
- Moses Hess (โมเสส เฮสส์) ชาวยิวเยอรมันเขียนหนังสือ โรมและเยรูซาเล็มเป็นจุดเริ่มแนวคิดชาตินิยมยิว

ปี 1880 [2423]
- เกิดกระแสต่อต้านชาวยิว กระตุ้นให้ชาวยุโรปเชื้อสายยิวเริ่มคิดถึง ดินแดนแห่งพันธสัญญาของพวกตนในปาเลสไตน์

ปี 1881 [2424]
- นักศึกษาชาวยิวรัสเซียจัดตั้งขบวนการนักศึกษาชื่อ “BILU” เรียกร้องชาวยิวกลับสู่ปาเลสไตน์ เกิดยิวอพยพกลุ่มแรกสู่ปาเลสไตน์

หลังจากซาร์ อเล็กซานเดอร์ ที่ 2 (The Czar Alexander II) แห่งจักรวรรดิรัสเซียเสียชีวิตจากการลอบปลงพระชนม์ ผลชันสูตรศพมีการกล่าวโทษว่าเป็นฝีมือลอบสังหารของชาวยิว พร้อมกับกระแสต่อต้านยิวในยุโรปตะวันออก และการลิดรอนและจำกัดจำนวนสิทธิของชาวยิวในการตั้งรกถิ่นฐานในรัสเซีย (The Pale of Settlement) เป็นสาเหตุให้เกิดการจัดตั้งขบวนการ คนรักไซออน” (Hibbat Zion) และขบวนการ"บิลู" (Bilu) ขึ้นมา

*** จึงเกิดการอพยพของยิวครั้งแรก(1st Aliya) ในช่วงปี 1882-1903 ส่วนมากได้อพยพเข้าอเมริกา(ประมาณ 2-3 ล้านคน เนื่องจากโอกาสการเติบโตทางเศรษฐกิจของที่นั่นมีสูง) อีกประมาณ 25,000 คน ได้อพยพเข้าปาเลสไตน์ (ที่ยังอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิออตโตมาน)