วันศุกร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2557

หะมาส: วิสัยทัศน์โดยสรุป


:: รู้จักหะมาสและวิสัยทัศน์ของหะมาสโดยสรุป ::

1. หะมาส เป็นกลุ่มเคลื่อนไหวของอิควาน อัล-มุสลิมูน (Muslim Brotherhood) หรือเป็นปีกข้างหนึ่งเลยก็ว่าได้ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าอิควาน อัล-มุสลิมูน เป็นขบวนการเคลื่อนไหวระดับโลก มีสาขาอยู่ในนานาประเทศ หรือเป็นกลุ่มเคลื่อนไหวอิสลามที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน

2. หะมาส เป็นกลุ่มที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อการญิฮาด ต่อสู้เพื่อปลดปล่อยแผ่นดินปาเลสไตน์จากการยึดครองของไออนิสต์ มีเงื่อนไขหยุดยิงที่ชัดเจนและมีการพบปะเจรจาเพื่อบรรลุข้อตกลงในการถอดถอนการยึดครองของไซออนิสต์ออกจากแผ่นดินปาเลสไตน์ เสมือนกับสนธิสัญญาฮุดัยบียะฮฺ

3.หะมาสมีความขัดแย้งและเป็นศัตรูต่อยิวไซออนิสต์อย่างชัดเจน มีพื้นที่ในการต่อสู้ที่ชัดเจนอยู่ในเขตปาเลสไตน์ และมียุทธวิธีการต่อสู้ทางการทหารอย่างเป็นระบบ ภายใต้ชื่อหน่วยรบอิซซุดดีน อัล-ก็อซซาม

4. หะมาส เป็นกลุ่มที่ดำเนินตามแนวทางอิสลามในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการเมือง หลักศรัทธา เศรษฐศาสตร์ สังคม การตัรบียะฮฺ (อบรมขัดเกลา) ตุลาการ การปกครอง การเผยแพร่และการศึกษา ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นแขนขาของกลุ่มที่มีส่วนร่วมในสังคมนับสิบองค์กร

5. ความชอบธรรมและการดำเนินการต่าง ๆ ของหะมาสจะอ้างอิงมาจากตัวบทหลักฐานผ่านการตัดสิน (ฟัตวา) จากผู้รู้ภายในเขตที่พวกเขาอาศัย (ปาเลสไตน์) และไม่ใช้แกนนำขบวนการเป็นผู้ตัดสิน

6. หะมาสมีส่วนร่วมทางการเมืองและเชื่อในการเปลี่ยนแปลงผ่านการมีส่วนร่วมโดยตรงในโครงสร้างของรัฐและมีองค์กรเป็นของตัวเอง มีการสรรหาผู้แทนลงสมัครรับเลือกตั้งทางการเมืองและมีส่วนร่วมในรัฐสภา มีรัฐบาลที่ได้มาถูกต้องตามกฎหมาย การเข้าสู่ระบบการเมืองของหะมาส ทำให้หะมาสมีฐานะเทียบเท่ารัฐบาลหนึ่งของโลก จากการที่อิสมาอีล ฮะนียะฮฺ ได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของปาเลสไตน์

7. หะมาสมีความสัมพันธ์ที่เป็นบวกกับนานาประเทศและมีการแลกเปลี่ยนแนวคิดบนพื้นฐานของความยุติธรรมที่มีต่อกัน

8. เหตุการณ์ในซีเรียหะมาสยืนอยู่ข้างฝ่ายต่อต้านรัฐบาลอย่างชัดเจนและเป็นปฏิปักษ์ต่ออิหร่าน-หิซบุลลอฮฺ


Ref: Ummah Islam

มุฮัมมัด อัฎฎ็อยฟฺ อดีตผู้บัญชาการของหน่วยรบอิซซุดดีน อัล-ก็อซซาม

หะมาส ถูกจัดตั้งขึ้นบนรถเข็น (ชัยคฺ อะหฺมัด ยาซีน)
กองกำลังอัล-ก็อซซาม ก็ถูกนำรบด้วยรถเข็น (มุฮัมมัด อัฎฎ็อยฟฺ) 


มุฮัมมัด อัฎฎ็อยฟฺ (เกิดในปี 1960) อดีตผู้บัญชาการของหน่วยรบอิซซุดดีน อัล-ก็อซซาม (ปี 2002-2006) เขาคนนี้มีประสบการณ์ในสนามรบมาก

เขารอดชีวิตจากการถูกกองกำลังอิสราเอลโจมตีถึง 4 ครั้ง แต่ 2 ครั้งที่สาหัสที่สุดคือในวันที่ 27 กันยายน ปี 2002 และวันที่ 12 กรกฎาคม ปี 2006 ครั้งหลังนี้เขาบาดเจ็บสาหัสบริเวณกระดูกสันหลังและสูญเสียขาทั้งสองข้าง กลายเป็นผู้พิการต้องนั่งบนรถเข็น แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้เขายุติเส้นทางการต่อสู้

เขากล่าวว่า "กองกำลังอัล-ก็อซซาม พร้อมที่สุดที่จะเดินหน้าต่อไปบนเส้นทางสายพิเศษนี้ เราไม่มีทางเลือกอื่น นี่เป็นเส้นทางของการญิฮาด เป็นการต่อสู้กับศัตรูของมุสลิมและมนุษยชาติ เราบอกกับศัตรูของเราว่า : เราอยู่บนทางผ่าน (สู่ความตายและโลกหน้า) และปาเลสไตน์จะยังคงอยู่ รวมทั้งอัล-กุดส์ (เยรูซาเล็ม), มัสญิดอัล-อักศอ, เมืองและหมู่บ้านจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจรดแม่น้ำจอร์แดน จากเหนือจรดใต้ พวกท่านไม่มีสิทธิที่จะครอบครองมันแม้เพียงตารางนิ้วเดียว"

............................
Ummah Islam

http://bit.ly/1yjNABf
http://bit.ly/1onesAw

วันจันทร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2557

คอลิด มัชอัล - ผู้บัญชาการแห่งหะมาส



คอลิด มัชอัล (ฉายาว่า อบุล วะลีด) ผู้นำทางการเมืองของกลุ่มหะมาสที่สำคัญที่สุดในปัจจุบัน มีตำแหน่งทางการเป็นหัวหนัาสำนักงานการเมือง (อัล-มักตับ อัสสิยาสียฺ) ของกลุ่มหะมาส สืบสานจากผู้นำคนก่อนคืออับดุลอะซีซ อัรฺร็อนตีซียฺ ที่ถูกลอบสังหารไปในปี 2004

คอลิด มัชอัล เกิดเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม ปี 1956 ที่เมืองสิลวาด ใกล้กับเมืองรอมัลลอฮฺ ในเขต West Bank ปาเลสไตน์ ในปี 1967 ระหว่างที่เขากำลังศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษาก็ได้เกิดสงครามหกวันขึ้น ทำให้เขาและครอบครัวต้องอพยพลี้ภัยไปยังประเทศคูเวต

คอลิด มัชอัล ได้ศึกษาต่อและสำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาที่ประเทศคูเวต หลังจากนั้นก็เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์ สาขาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยคูเวต ช่วงนี้เองที่เป็นจุดพลิกผันที่สำคัญมากสำหรับชีวิตของเขา นั่นคือการเข้าไปมีบทบาททำกิจกรรมในรั้วมหาวิทยาลัย เขาเริ่มต้นเป็นประธานชมรมกออิมะฮฺ อัล-ฮักกฺ อัล-อิสลามียะฮฺ qa’imat al-haq al-islamiyya (ในภาษาอังกฤษแปลเอาความว่า Islamic Justice หรือ สิทธิอันเที่ยงธรรมแห่งอิสลาม)

ในปี 1977 ชมรมกออิมะฮฺ อัล-ฮักกฺ อัล-อิสลามียะฮฺ ก็ได้ลงสมัครเลือกตั้งเพื่อเข้าไปมีส่วนร่วมกับสหภาพนักศึกษาปาเลสไตน์ [ the General Union of Palestinian Students (GUPS) ] องค์กรนี้เป็นองค์กรนักศึกษาของชาวปาเลสไตน์ในระดับนานาชาติที่มีกิจกรรมมายาวนาน บุคคลสำคัญทางการเมืองของปาเลสไตน์มักผ่านสหภาพนักศึกษาแห่งนี้แม้แต่นายยัซเซอร์ อาราฟัต จึงไม่แปลกที่ขณะนั้นสหภาพถูกบริหารงานโดยกลุ่มนักศึกษาที่นิยมแนวทาง PLO ของยัซเซอร์ อาราฟัต ขณะที่ชมรมกออิมะฮฺ อัล-ฮักกฺ อัล-อิสมียะฮฺ ของคอลิด มัชอัล มีรายชื่ออยู่ในสังกัดของขบวนการอิสลามของปาเลสไตน์ที่ถือว่าเป็นสาขาของภราดรภาพมุสลิมอีกด้วย เป็นที่มาของการแข่งขันระหว่างนักศึกษาสายอิสลามของมิชอัลกับกลุ่มชาตินิยมของ PLO

ชัยคฺ ดร.อับดุลอะซีซ อัรฺ-ร็อนตีซียฺ - ราชสีห์แห่งหะมาส


ชัยคฺ ดร.อับดุลอะซีซ อัรฺ-ร็อนตีซียฺ (อับดุลอะซีซ อะลี อับดุลมะญีด อัรฺ-ร็อนตีซียฺ) เกิดวันที่ 23 ตุลาคม 1947 ในหมู่บ้านยิบนา ปาเลสไตน์ ซึ่งอยู่ใกล้กับเมืองจัฟฟา

ในปี 1948 ครอบครัวของท่านได้ลี้ภัยไปยังฉนวนกาซา ช่วงปี 1956 ขณะที่ท่านอายุ 9 ขวบ ลุงของท่านได้เสียชีวิตจากการสังหารหมู่ของทหารอิสราเอลในเมืองคาน ยูนิส ซึ่งเป็นที่ตั้งของศูนย์อพยพลี้ภัยทางตอนใต้ของฉนวนกาซา

ชัยคฺ อับดุลอะซีซ อัรฺ-ร็อนตีซียฺ เข้าศึกษาในสาขากุมารเวชศาสตร์และพันธุศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยอเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์ และจบการศึกษาเป็นคนแรกในรุ่น ในช่วงเวลาที่ท่านอยู่ที่อียิปต์ท่านได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของ Muslim Brotherhood

ชัยคฺ อะหฺมัด ยาสีน - ผู้นำทางจิตวิญญาณแห่งปาเลสไตน์


ชัยคฺ อะหฺมัด ยาสีน (อะหฺมัด อิสมาอีล หะสัน ยาสีน) เกิดปี 1938 ในหมู่บ้านญูเราะฮฺซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของฉนวนกาซา พ่อของท่านเสียชีวิตขณะที่ท่านมีอายุได้ประมาณ 3 ขวบ

ปี 1948 ช่วงสงครามอาหรับ-อิสราเอล ครอบครัวของท่านต้องย้ายออกจากหมู่บ้านไปอยู่ในค่ายลี้ภัยอัล-ชาฏิอ์ ในฉนวนกาซา เนื่องจากกองกำลังป้องกันอิสราเอลเข้าไปบุกยึด

ขณะที่ท่านมีอายุได้ 12 ปี แขนและขาของท่านก็เป็นอัมพาตต้องนั่งรถเข็นเนื่องจากประสบอุบัติเหตุขณะเล่นกีฬากับเพื่อน ท่านไม่สามารถเดินทางไปเรียนได้เนื่องจากปัญหาสุขภาพจึงศึกษาจากการอ่านหนังสือด้วยตนเองที่บ้าน โดยเฉพาะหนังสือที่เกี่ยวกับการเมือง สังคมวิทยา เศรษฐศาสตร์ ปรัชญาและศาสนา จนกระทั่งท่านได้รับหน้าที่ให้กล่าวคุฏบะฮฺในละหมาดญุมอัต หลังจากนั้นท่านก็ทำงานเป็นครูสอนภาษาอาหรับในโรงเรียนประถมเขตริมาล ของฉนวนกาซา และสมรสเมื่ออายุ 22 ปี

ปี 1984 ท่านได้เข้าร่วมกับขบวนการ Muslim Brotherhood ในปาเลสไตน์ และถูกจำคุกด้วยข้อหาก่อตั้งขบวนการที่เป็นภัยต่ออิสราเอล และครอบครองอาวุธ และได้รับการปล่อยตัวในปี 1985 ตามข้อตกลงแลกเปลี่ยนนักโทษระหว่างรัฐบาลอิสราเอลกับหัวหน้าขบวนการปลดปล่อยปาเลสไตน์ (PFLP)

ปี 1987 ท่านเข้าร่วมกับขบวนการอินติฟาเฎาะฮฺในการต่อสู้เพื่อต่อต้านการยึดครองปาเลสไตน์ของอิสราเอล และก่อตั้งขบวนการเคลื่อนไหวติดอาวุธเพื่อปลดปล่อยปาเลสไตน์ร่วมกับ ชัยคฺ อับดุลอะซีซ อัรฺ-ร็อนตีซียฺ ภายใต้ชื่อ "หะมาส حماس" (แปลว่า กระตือรือร้น เป็นคำย่อมาจาก حركة المقاومة الاسلامية หะเราะกะฮฺ อัล-มุกอวะมะฮฺ อัล-อิสลามิยฺยะฮฺ) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Muslim Brotherhood และท่านได้กลายเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของหะมาส

ไทม์ไลน์การก่อตั้งรัฐอิสราเอล [4] ::: สงครามโลกครั้งที่ 2 :::



::: สงครามโลกครั้งที่ 2 :::

ปี 1939-1945 [2482-2488]
- เกิดเหตุการณ์พันธุฆาตหรือการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์(The Holocaust)ชาวยิวกว่า 6 ล้านคน โดยกองทัพนาซีและฝ่ายสนับสนุน ซึ่งออกคำสั่งโดย อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2

ปี 1939 [2482]
- ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 อังกฤษกับไซออนิสต์ก็ยิ่งดำเนินนโยบายสวนทางกันหนักขึ้น เพราะไซออนิสต์อยากให้ชาวยิวเข้าไปตั้งถิ่นฐานในปาเลสไตน์ ขณะที่อังกฤษพยายามขัดขวาง เนื่องจากเห็นว่าการหลั่งไหลเข้าไปของชาวยิวจะคุกคามต่อเสถียรภาพในภูมิภาคนั้น

ถึงแม้สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างไซออนิสต์กับอังกฤษจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น เดวิด เบน-กูเรียน ผู้นำชาวยิวไซออนิสต์ พยายามโน้มน้าวให้ชาวยิวร่วมรบกับกองทัพอังกฤษต่อสู้กับฮิตเลอร์ โดยประกาศในนามองค์การชาวยิวว่า เราจะช่วยอังกฤษสู้ในสงครามครั้งนี้ เสมือนหนึ่งว่าไม่มีสมุดปกขาว และเราจะสู้กับสมุดปกขาว เสมือนหนึ่งว่าไม่มีสงคราม

ปี 1940-1942 [2483-2485]
- ความพยายามของอังกฤษที่จะกีดกันการอพยพของชาวยิวในยุโรปสู่ปาเลสไตน์ นำไปสู่การจมเรือของผู้อพยพชาวยิว 2 ลำ คือ Patria แพตเรีย (พฤศจิกายน 1940) กับ Struma สตรูมา (กุมภาพันธ์ 1942)

ปี 1944 [2487]
- ขบวนการใต้ดินปีกขวาของชาวยิวในชื่อ Irgun Zvai Leumi (เออร์กุน ซวาอี ลูมี) ภายใต้การนำของ Menachem Begin (เมนาค์เฮม เบกิน) กับกลุ่มก่อการร้าย LEHI (เลฮี) หรือ นักรบเพื่อ อิสรภาพของอิสราเอลได้เปิดฉากโจมตีอังกฤษอย่างหนักเพื่อเป็นการตอบโต้ และจบลงด้วยการสังหาร Lord Moyne (ลอร์ด มอยน์) รัฐมนตรีต่างประเทศของอังกฤษ ด้วยฝีมือของสมาชิกกลุ่มเลฮี 2 คนในเดือนพฤศจิกายน 1944

ปี 1945 [2488]
- สันนิบาตอาหรับ ได้ก่อตั้งขึ้นในเดือนมีนาคม 1945 และแต่งตั้งคณะกรรมการอาหรับ (Arab Higher Committee) ซึ่งประกอบ ด้วยบรรดาผู้นำชาวปาเลสไตน์ขึ้นเป็นปากเสียงแทนชาวอาหรับปาเลสไตน์

::: 2 กันยายน 1945 สงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติ :::

- ประธานาธิบดี แฮรี่ เอส. ทรูแมน (Harry S. Truman) ของสหรัฐ ได้ออกหน้าขอร้องให้นายกรัฐมนตรีของอังกฤษ คลีเมนต์ แอตต์ลี (Clement Attlee) ช่วยรับชาวยิวผู้รอดชีวิต 100,000 คนเข้าไปอาศัยในปาเลสไตน์ และในเดือนธันวาคม วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐ ได้ร้องขอให้มีการรับชาวยิวไม่จำกัดจำนวน เข้าไปอยู่ในปาเลสไตน์เท่าที่ศักยภาพทางเศรษฐกิจของดินแดนนั้นจะรองรับได้ ท่าทีของทรูแมนเป็นการส่งสัญญาณว่า ต่อไปนี้ สหรัฐจะขอเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องอนาคตของปาเลสไตน์ด้วย

ไทม์ไลน์การก่อตั้งรัฐอิสราเอล [3] ::: หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 :::



::: หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 :::

ปี 1925 [2468]
- มีการก่อตั้งกลุ่มไซออนิสต์ใหม่ (Revisionist Zionists) นำโดย Vladimir Jabotinsky (วลาดิมีร์ ยาโบทินสกี) โดยมีเป้าหมายที่จะก่อตั้งรัฐของชาวยิวในดินแดนทั้งหมดของปาเลสไตน์ (ทั้งสองฝั่งของแม่น้ำจอร์แดน) จึงได้จัดตั้งกองกำลังของตนขึ้น ซึ่งพร้อมจะห้ำหั่นชาวอาหรับทุกเมื่อหากขัดขวางความปรารถนา

ปี 1924-1928 [2467-2471]
- ชาวยิวชุดที่ 4 อพยพเข้าดินแดนปาเลสไตน์ (Fourth Aliya) จำนวน 80,000 คน ครึ่งหนึ่งเป็นชาวโปแลนด์

ปี 1929 [2472]
- ชาวยิวรู้ดีว่าเมื่อการปกครองแบบอาณัติสิ้นสุดลง อนาคตของภูมิภาคนี้จะถูกตัดสินด้วยขนาดของประชากรและกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ชาวยิวจึงพยายามอพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐานและซื้อที่ดิน ขณะที่ชาวอาหรับก็พยายามชะลอหรือยับยั้งการกระทำทั้งสองอย่างนี้

ปี 1936 [2479]
- ชาวอาหรับปาเลสไตน์ลุกขึ้นมาต่อต้านการเพิ่มจำนวนอย่างมากมายของชาวยิว

ปี 1937 [2480]
- รัฐบาลอังกฤษได้ส่ง Lord Robert Peel (ลอร์ด โรเบิร์ต พีล) เข้าสอบสวนสถานการณ์รุนแรงซึ่งได้รายงานว่า สาเหตุเกิดจากความปรารถนาของชาวอาหรับที่จะได้เอกราช และความหวั่นเกรงต่อการอพยพของชาวยิวเข้าสู่ปาเลสไตน์ รายงานชี้ว่า ระบบการปกครองแบบอาณัติใช้ไม่ได้ผล และพันธกิจของอังกฤษต่อชาวอาหรับกับชาวยิวก็ไปด้วยกันไม่ได้ ต่างฝ่ายต่างถูกทั้งคู่จึงเสนอให้แบ่งดินแดนปาเลสไตน์เป็นส่วน ๆ นับเป็นครั้งแรกที่อังกฤษพูดชัดเจนถึงการมีรัฐยิว

นอกจากคณะกรรมการสอบสวนชุดนี้จะจัดสรรพื้นที่รัฐยิวให้ในขนาดที่ใหญ่กว่าการถือครองที่ดินของชาวยิวในเวลานั้นแล้ว ยังได้เสนอให้อพยพชาวอาหรับออกจากเขตที่จะให้เป็นรัฐยิวด้วย ผลก็คือยิ่งทำให้สถานการณ์ความขัดแย้งรุนแรงขึ้น ฝ่ายไซออนนิสต์ต่างผนึกกำลังกันภายใต้การนำของ David Ben-Gurion (เดวิด เบน-กูเรียน) และกองกำลังฮากานาห์ก็ได้รับอนุญาตให้ติดอาวุธตนเองได้ กองกำลังนี้ได้ร่วมมือกับอังกฤษโจมตีชาวอาหรับ

ไทม์ไลน์การก่อตั้งรัฐอิสราเอล [2] ::: สงครามโลกครั้งที่ 1 :::



 ::: สงครามโลกครั้งที่ 1 :::

ปี 1914 [2457]
- สงครามโลกครั้งที่ 1 Chaim Weizmann (คาอิม ไวซ์มันน์) นักเคมีชาวยิวสมาชิกกลุ่มไซออนิสต์ (ประธานองค์กรไซออนิสต์โลก 2 สมัย และประธานาธิบดีคนแรกของอิสราเอล) เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านวัตถุระเบิด ได้ทำการคิดค้นดินระเบิดประสิทธิภาพสูง ซึ่งสามารถผลิตเองได้โดยใช้วัตถุดิบที่หาได้ง่าย ก่อนหน้านั้นกองทัพอังกฤษใช้ดินระเบิดคอร์ไดท์ ซึ่งอังกฤษผลิตเองได้แต่จำเป็นต้องใช้วัตถุดิบสำคัญคือ อาซีโทน (Acetone) โดยจำเป็นต้องสั่งเข้าจากเยอรมันซึ่งเป็นคู่สงคราม เมื่อไม่มีวัตถุดิบ อังกฤษจึงประสบปัญหาใหญ่ในการทำสงคราม จนกระทั่งได้ ดร.คาอิม มาช่วย

*** ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 เราจะเห็นแผนการอันแยบยลของไวซ์มันน์ ที่ยอมช่วยเหลืออังกฤษ(ฝ่ายพันธมิตร) และสามารถโน้มน้าวอังกฤษจนนำไปสู่คำประกาศบัลฟอร์ ที่เอื้อต่อการเกิดรัฐยิวขึ้นในปาเลสไตน์ (Jewish National Home in Palestine)

ไทม์ไลน์การก่อตั้งรัฐอิสราเอล [1] ::: ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 :::


::: ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 :::

ปี 1825 [2368]
- Mordecai Manuel Noah (มอร์ดีไค มานูเอล โนอาห์) ชาวอเมริกันเชื้อสายยิว นำเสนอ(ที่ Grand Island นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา)ให้ชาวยิวจากทั่วโลกร่วมกันจัดตั้งรัฐยิว

ปี 1839 [2382]
- Sir Moses H. Montefiore (เซอร์ โมเสส มองเตฟิออเร) ชาวยิวอังกฤษ ยื่นข้อเสนอต่อผู้ดูแลอียิปต์ มุหัมมัด อะลีย์ บาชา ขอเช่าพื้นที่ในดินแดนปาเลสไตน์ 50 ปี เพื่อตั้งนิคมยิว

ปี 1862 [2405]
- Moses Hess (โมเสส เฮสส์) ชาวยิวเยอรมันเขียนหนังสือ โรมและเยรูซาเล็มเป็นจุดเริ่มแนวคิดชาตินิยมยิว

ปี 1880 [2423]
- เกิดกระแสต่อต้านชาวยิว กระตุ้นให้ชาวยุโรปเชื้อสายยิวเริ่มคิดถึง ดินแดนแห่งพันธสัญญาของพวกตนในปาเลสไตน์

ปี 1881 [2424]
- นักศึกษาชาวยิวรัสเซียจัดตั้งขบวนการนักศึกษาชื่อ “BILU” เรียกร้องชาวยิวกลับสู่ปาเลสไตน์ เกิดยิวอพยพกลุ่มแรกสู่ปาเลสไตน์

หลังจากซาร์ อเล็กซานเดอร์ ที่ 2 (The Czar Alexander II) แห่งจักรวรรดิรัสเซียเสียชีวิตจากการลอบปลงพระชนม์ ผลชันสูตรศพมีการกล่าวโทษว่าเป็นฝีมือลอบสังหารของชาวยิว พร้อมกับกระแสต่อต้านยิวในยุโรปตะวันออก และการลิดรอนและจำกัดจำนวนสิทธิของชาวยิวในการตั้งรกถิ่นฐานในรัสเซีย (The Pale of Settlement) เป็นสาเหตุให้เกิดการจัดตั้งขบวนการ คนรักไซออน” (Hibbat Zion) และขบวนการ"บิลู" (Bilu) ขึ้นมา

*** จึงเกิดการอพยพของยิวครั้งแรก(1st Aliya) ในช่วงปี 1882-1903 ส่วนมากได้อพยพเข้าอเมริกา(ประมาณ 2-3 ล้านคน เนื่องจากโอกาสการเติบโตทางเศรษฐกิจของที่นั่นมีสูง) อีกประมาณ 25,000 คน ได้อพยพเข้าปาเลสไตน์ (ที่ยังอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิออตโตมาน)

วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2557

P&G (Procter & Gamble)



พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล (อังกฤษ: Procter & Gamble; NYSE: หรือ P&G) เป็นบริษัทข้ามชาติผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคจากสหรัฐอเมริกา ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงามที่เราจักกันดี อาทิ เช่น แชมพูเฮดแอนด์โชว์เดอร์ ,เฮอร์เบิล เอสเซนท์ ,แพนทีน ,Ponds Olay , ยาสีฟัน Oral B, ผ้าอ้อมเด็ก Pampers , มีดโกน Gillette ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด เช่น น้ำยาปรับผ้านุ่ม ดาวนี่(downy) , เสื้อผ้าแบรนด์ Lacoste และถ่าน ดูราเซล (Duracell) และมันฝรั่งทอดฟิงเกิลส์(Pringles) มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองซินซินแนติ รัฐโอไฮโอ

Proctor & Gamble เป็นลูกค้ารายสำคัญของบริษัท Avgol (ขายวัตถุดิบสำหรับผ้าอนามัยและผ้าอ้อมเด็ก) ซึ่งมีโรงงานอยู่ที่อเมริกา รัสเซีย จีน และมีโรงงานอีกแห่งหนึ่งบริเวณเขตอุตสาหกรรม Barkan ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อิสราเอลยึดครองในเขตเวสแบงค์

Proctor & Gamble ได้เรียกอิสราเอลว่า การเริ่มต้นประชาชาติ อันแสดงถึงการเห็นด้วยในการสร้างชาติและประเทศอิสราเอลขึ้น ยังได้สนับสนุนทางการเงินให้แก่องค์กรหลายองค์กรของอิสราเอล มีการสร้างองค์กรที่เรียกว่า บ้านแห่งนวัตกรรม อิสราเอล :Israel House of Innovation (IHI) ได้ถูกสร้างหลังจากที่ CEO Bob McDonald ได้เสียชีวิตไป 5 ปี ซึ่งเป้าหมายที่สำคัญอย่างยิ่งของการสร้างองค์กรนี้ก็เพื่อความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นระหว่าง P&G กับผู้คิดค้นผลิตนวัตกรรมใหม่กับอิสราเอล อีกทั้งยังมีการลงทุนร่วมกันในอิสราเอลเกี่ยวกับการพัฒนาและค้นคว้าผลิตภัณฑ์ต่างๆ หลายพันล้านเหรียญ

นอกจากนี้ ยังมีการรณรงค์ให้บอยคอตเครือ P&G เพราะนำสัตว์มาทดลองอีกด้วย

แหล่งข้อมูลอ้างอิง
http://www.stopdebezetting.com/boycot-divestment-sanctions-bds/palestina-boycott-facts-figures.html
http://th.m.wikipedia.org/wiki/พรอคเตอร์_แอนด์_แกมเบิล
http://www.buycottisrael.com/blog/procter-gamble-explains-why-israel-is-the-startup-nation/

มาร์ค แอนด์ สเปนเซอร์ (Marks & Spencer)


มาร์คแอนด์สเปนเซอร์ ( Marks and Spencer ) บริษัทที่ทรงพลังมากที่สุดแห่งหนึ่งของอังกฤษ อายุกว่า 125 ปี มีสาขามากกว่า 900 สาขาทั่วโลก คนไทยส่วนใหญ่รู้จักแบรนด์นี้ในผลิตภัณฑ์ประเภทเสื้อผ้า, ชุดชั้นใน,รองเท้า,เครื่องสำอาง,อาหารและขนมขบเคียวสไตล์อังกฤษ ฯลฯ

ตำนานของ มาร์ค แอนด์ สเปนเซอร์ หรือที่รู้จักอีกชื่อว่า เอ็มแอนด์เอส เริ่มตั้งแต่ปี 1884 เกิดขึ้นจากการร่วมหุ้นกันระหว่าง ไมเคิล มาร์ค ซึ่งเป็นชาวยิวโปแลนด์เชื้อสายรัสเซียที่อพยพมายังอังกฤษ และทอม สเปนเซอร์ ก่อเกิดเป็นตำนานมาร์ค แอนด์ สเปนเซอร์ กระทั่งทั้งสองเสียชีวิตลง ทายาทจึงเข้าดำเนินกิจการแทน โดย ไซมอน มาร์ค ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งประธานบริษัทแทนบิดา และเริ่มขยายกิจการเข้าสู่ลอนดอน จนกลายเป็นร้านค้าขนาดใหญ่และแผ่อาณาเขตไปทั่วอังกฤษ ก่อนที่จะขยายวงกว้างไปยังทวีปยุโรปและกระจายสาขาไปทั่วโลกในเวลาต่อมา

ความสัมพันธ์ระหว่างอิสราเอล

นอกจากบริษัทมาร์ค แอนด์ สเปนเซอร์ จะจำหน่ายสินค้าในอิสราเอลบนพื้นที่ที่ยิวยึดครองไปจากมุสลิมแล้ว ยังมีหลักฐานจากหนังสือของบริษัทมาร์ค แอนด์ สเปนเซอร์ว่า บริษัทนี้มีความเชื่อมโยงกับไซออนิสต์โดยลอร์ด มาร์คัส เซียฟ ซึ่งเป็นยิวประธานของบริษัทได้ระบุไว้ว่า วัตถุประสงค์อย่างหนึ่งของบริษัทก็คือช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของอิสราเอลทั้งนี้เนื่องจากเซียฟมีความสนิทสนมใกล้ชิดกับผู้นำไซออนิสต์อย่างไชม์ ไวซแมนน์ เป็นอย่างมาก และเชียฟเองก็เคยเข้าร่วมกับกองทัพอิสราเอล ทั้งยังช่วยประสานงานให้บริษัทมาร์ค แอนด์ สเปนเซอร์สนับสนุนอิสราเอล

ในปี 1998 มาร์ค แอนด์ สเปนเซอร์ ได้รับรางวัล จูบะลี อวอร์ดจากนาย เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอล ซึ่งเป็นรางวัลอันทรงเกียรติสูงสุดที่ทางการอิสราเอลมอบให้กับบรรดาบุคคลและองค์กรที่เสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจให้กับอิสราเอล

ปี 2000 มีรายงานว่ามาร์ค แอนด์ สเปนเซอร์สนับสนุนทางด้านการค้ากับอิสราเอลประมาณ 233 ล้านดอลลาร์สหรัฐในแต่ละปี และเอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำประเทศอังกฤษเคยยกย่องบริษัทมาร์ค แอนด์ สเปนเซอร์ว่าเป็นบริษัทที่สนับสนุนประเทศอิสราเอล


แหล่งข้อมูลอ้างอิง http://www.inminds.co.uk/boycott-marks-and-spencer.html
http://www.themodernreligion.com/jihad/m-s.html 
http://en.wikipedia.org/wiki/Marcus_Sieff,_Baron_Sieff_of_Brimpton

ที่มา สารมุสลีมะฮ

เครื่องสำอางเอสเต ลอเดอร์ (ESTÉE LAUDER)


Boycott ESTÉE LAUDER บริษัทเครื่องสำอางค์ยิวไซออนิสต์หัวรุนแรง

บริษัทเครื่องสำอางยักษ์ระดับโลกของประเทศสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งเมื่อปี 1946 โดยเอสเต ลอเดอร์ สตรีชาวอเมริกันเชื้อสายยิว ปัจจุบันบริษัทเอสเต ลอเดอร์เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์บำรุงผิว, เครื่องสำอาง, น้ำหอม และผลิตภัณฑ์บำรุงผม มีสินค้าจำหน่ายใน 130 ประเทศ ทุกทวีปทั่วโลก ภายใต้ยี่ห้อหลากหลาย อาทิ เอสเต ลอเดอร์, อรามิส, คลินิกข์, เพรสคริปทีฟส์, ออริจินส์, แมค, ลาแมร์, บ๊อบบี้ บราวน์, ทอมมี่ ฮิลฟิเกอร์, ดอนน่า คาราน, อเวด้า, สติลล่า, โจ มาโลน, บัมเบิ้ลแอนด์บัมเบิ้ล, ดาร์ฟีน ปารีส, ไมเคิล คอร์ส และโรดานแอนด์ฟิลส์

สำหรับประเทศไทย ได้นำเข้าและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและน้ำหอมหลากหลายยี่ห้อภายใต้บริษัท เอลก้า (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทสาขาของเอสเต ลอเดอร์ คอมพานี อิงค์ ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเปิดดำเนินธุรกิจในประเทศไทยมาตั้งแต่ พ.ศ. 2534

ความสัมพันธ์กับอิสราเอล

ปัจจุบันบริษัทเอสเต ลอเดอร์ก็ยังถูกควบคุมการบริหารโดยตระกูลลอเดอร์ จะเรียกว่าเป็นบริษัทของยิวเลยก็ว่าได้ และหนึ่งในผู้บริหารอย่าง นายโรนัลด์ ลอเดอร์ ผู้เป็นลูกชายคนเล็กของเอสเต ลอเดอร์ ก็ประกาศอยู่ข้างอิสราเอลอย่างชัดเจน ทั้งนี้นายโรนัลด์ ลอเดอร์ เคยได้ดำรงตำแหน่งประธานของการประชุมกลุ่มผู้นำองค์กรของชาวอเมริกันเชื้อสายยิว ในปี 2001 และเป็นประธานกองทุนชาวยิวแห่งชาติ (JNF) ซึ่งเป็นเสมือนตัวแทนของรัฐบาลโดยมีหน้าที่หลักคือทำให้การแย่งชิงดินแดนจากชาวปาเลสไตน์ของอิสราเอลเป็นสิ่งถูกต้องและชอบด้วยกฎหมาย

นายโรนัลด์ ลอเดอร์ เป็นไซออนิสต์หัวรุนแรง เขาเคยเข้าพบนายเอเรียล ชารอน และบอกว่าชาวอเมริกันเชื้อสายยิวหลายคนสนับสนุนและพร้อมที่จะช่วยเหลือชารอน โดยเขากล่าวฉันไม่เคยเห็นกลุ่มยิวอเมริกันสามัคคีกลมเกลียวกันเช่นนี้มานาน จนกระทั่งวันนี้

มุสลิมอเมริกันประกาศคว่ำบาตร

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2001 กลุ่มมุสลิมอเมริกันเพื่อเยรูซาเล็ม(AMJ) เป็นแกนนำออกมาเรียกร้องให้มีการคว่ำบาตรบริษัทเครื่องสำอางยักษ์ใหญ่อย่าง เอสเต ลอเดอร์ การเรียกร้องครั้งนี้เกิดขึ้นในช่วงเดียวกับที่ โรนัลด์ ลอเดอร์กำลังดำรงตำแหน่งประธานบริษัทระหว่างประเทศซึ่งสนับสนุนความรุนแรงที่เกิดขึ้นในปาเลสไตน์ คอลิด ฏุรอนียฺ กรรมการบริหารกลุ่มมุสลิมอเมริกันเพื่อเยรูซาเล็ม กล่าวว่า การคว่ำบาตรเอสเต ลอเดอร์จะสร้างความกระจ่างให้กับประชาชนในการที่จะปฏิเสธการสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลอิสราเอลที่มุ่งสร้างความรุนแรงและละเมิดสิทธิมนุษยชน

ในเดือนมกราคม ลอว์เดอร์เป็นตัวชูโรงสำคัญจากอเมริกาในการชุมนุมที่เยรูซาเล็ม ซึ่งมีขึ้นเพื่อต่อต้านการพิจารณาการต่อรองสินค้าในเยรูซาเล็ม ลอว์เดอร์ได้ขึ้นปราศรัยต่อหน้าชาวอิสราเอล 300,000 คน ที่ประตูของอัล-ฮะรอม อัช-ชะรีฟ(บริเวณที่ตั้งของมัสญิดอัล-อักซอ 1 ใน 3 ศาสนสถานศักดิ์สิทธิ์ของมุสลิม) ท่ามกลางผู้ต่อต้านบางคนที่พยายามจะห้ามไม่ให้เขาเข้าไปสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนั้น คำปราศรัยของโรนัลด์ ลอว์เดอร์นี้มีขึ้นขณะที่รัฐบาลอิสราเอลกำลังดำเนินมาตรการเพื่อกีดกันการเข้ามาของประชากรชาวปาเลสไตน์

ในสหรัฐฯ ลอว์เดอร์ได้แสดงให้เห็นความต้องการที่แท้จริงของเขาอย่างเปิดเผย ด้วยการสนับสนุนการหาแผ่นดินเกิดและกลับเข้าประเทศของยิวอย่างบ้าคลั่ง นอกจากนั้นเขายังแสดงความเห็นคัดค้านการอนุญาตให้ผู้อพยพชาวปาเลสไตน์กลับสู่บ้านเกิดอีกด้วย

สำหรับอิสราเอล การอนุญาตให้ชาวปาเลสไตน์กลับเข้ามา นับเป็นการฆ่าตัวตายระดับชาติลอว์เดอร์กล่าวปราศรัยต่อสาธารณชนในเดือนกันยายน

ในขณะที่ฏุรอนียฺกรรมการบริหารกลุ่มมุสลิมอเมริกันเพื่อเยรูซาเล็มได้วิเคราะห์จุดยืนของลอว์เดอร์ว่า การคัดค้านการอพยพกลับประเทศของชาวปาเลสไตน์ของลอว์เดอร์ก็เพียงพอที่จะแสดงให้เห็นสถานะที่ชัดเจนของความเป็นยิวในตัวเขา
 
แหล่งข้อมูลอ้างอิง

http://en.wikipedia.org/wiki/Ronald_Lauder#Jewish_and_Zionist_efforts

http://www.inminds.com/boycott-estee-lauder.html



ที่มา สารมุสลีมะฮ