วันจันทร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2557

ไทม์ไลน์การก่อตั้งรัฐอิสราเอล [2] ::: สงครามโลกครั้งที่ 1 :::



 ::: สงครามโลกครั้งที่ 1 :::

ปี 1914 [2457]
- สงครามโลกครั้งที่ 1 Chaim Weizmann (คาอิม ไวซ์มันน์) นักเคมีชาวยิวสมาชิกกลุ่มไซออนิสต์ (ประธานองค์กรไซออนิสต์โลก 2 สมัย และประธานาธิบดีคนแรกของอิสราเอล) เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านวัตถุระเบิด ได้ทำการคิดค้นดินระเบิดประสิทธิภาพสูง ซึ่งสามารถผลิตเองได้โดยใช้วัตถุดิบที่หาได้ง่าย ก่อนหน้านั้นกองทัพอังกฤษใช้ดินระเบิดคอร์ไดท์ ซึ่งอังกฤษผลิตเองได้แต่จำเป็นต้องใช้วัตถุดิบสำคัญคือ อาซีโทน (Acetone) โดยจำเป็นต้องสั่งเข้าจากเยอรมันซึ่งเป็นคู่สงคราม เมื่อไม่มีวัตถุดิบ อังกฤษจึงประสบปัญหาใหญ่ในการทำสงคราม จนกระทั่งได้ ดร.คาอิม มาช่วย

*** ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 เราจะเห็นแผนการอันแยบยลของไวซ์มันน์ ที่ยอมช่วยเหลืออังกฤษ(ฝ่ายพันธมิตร) และสามารถโน้มน้าวอังกฤษจนนำไปสู่คำประกาศบัลฟอร์ ที่เอื้อต่อการเกิดรัฐยิวขึ้นในปาเลสไตน์ (Jewish National Home in Palestine)


ปี 1915 [2458]
- มีการติดต่อกันทางจดหมายระหว่าง เซอร์ เฮนรี่ แม็กมาฮอน (Sir Henry McMahon) ข้าหลวงใหญ่อังกฤษประจำอียิปต์ กับ ชะรีฟ หุสัยน์ (Sharif Hussein) ผู้ครองแคว้นฮิญาชและเป็นตัวแทนของชาวอาหรับ ซึ่งใจความของจดหมายนั้นแม็กมาฮอนพยายามเกลี้ยกล่อมให้ชาวอาหรับสนับสนุนฝ่ายมหาอำนาจพันธมิตร สู้รบกับฝ่ายมหาอำนาจอักษะในสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยสัญญาจะให้เอกราชแก่ชาวอาหรับในทุก ๆ ดินแดนหลังจากสงครามยุติลง รวมถึงปาเลสไตน์ด้วย ด้วยเหตุนี้ อังกฤษจึงได้ลงนามในข้อตกลงแองโกล-อาหรับในฤดูใบไม้ร่วงปี 1915

ชะรีฟ หุสัยน์์ จึงเข้าร่วมรบกับกองทัพฝ่ายพันธมิตร ชาวอาหรับจากซีเรีย เลบานอน และปาเลสไตน์ ก็เข้าร่วมลุกฮือขึ้นก่อกบฎต่อต้านอาณาจักรออตโตมานที่ประกาศเข้าร่วมสงครามในนามฝ่ายอักษะ

ผลปรากฏว่า อังกฤษได้รับชัยชนะในสงครามโลก ทำให้จักรวรรดิออตโตมานล่มสลายลงโดยสิ้นเชิง


ปี 1916 [2459]
- หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 อังกฤษ และฝรั่งเศส ได้ทำสนธิสัญญาไซเกส-ปิโกต์ (Sykes-Picot) เพื่อแบ่งดินแดนตะวันออกกลางของจักรวรรดิออตโตมานหรืออุษมานียะฮฺ

ปี 1917 [2460]
- อังกฤษได้ออกประกาศบัลฟอร์ (The Balfour Declaration) ซึ่งเขียนขึ้นโดย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอังกฤษ คือ ลอร์ด อาเธอร์ เจมส์ บัลฟอร์ ส่งเป็นจดหมายไปให้ลอร์ด รอทช์ชายด์ (Lord Rothchild) ผู้นำของชาวยิวในอังกฤษ เพื่อยกดินแดนบางส่วนของปาเลสไตน์ให้ชาวยิวเข้าไปตั้งถิ่นฐาน เป็นการตอบแทนความช่วยเหลือในสงครามโลกครั้งที่ 1 ของคาอิม ไวซ์มันน์ (ขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ กระทรวงทหารเรือของอังกฤษ ในช่วงปี 1916-1919) ในฐานะที่เป็นคนพัฒนาอาวุธและเคยให้คำปรึกษาด้านยุทธศาสตร์แก่นายกรัฐมนตรีอังกฤษในสมัยนั้น (David Lloyd George) เพื่อทำสงครามกับจักรวรรดิออตโตมาน จนในที่สุดฝ่ายพันธมิตรเป็นฝ่ายชนะในสงครามโลกครั้งที่ 1

เป็นประกาศที่ชาวอาหรับถูกหักหลัง เพราะไม่เพียงแต่อังกฤษจะไม่รักษาคำมั่นสัญญา แต่ยังไปสนับสนุนองค์กรยิวไซออนิสต์ให้จัดตั้งรัฐยิวขึ้นในปาเลสไตน์ โดยไม่ได้ปรึกษาหารือกับชาวอาหรับเจ้าของดินแดนแต่ประการใดทั้งสิ้น อีกทั้งยังออกมาตรการต่าง ๆ ขึ้นมาใช้ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ชาวยิวได้อพยพเข้ามาในแผ่นดินปาเลสไตน์แบบไม่จำกัดจำนวน

*** ชาวยิวจากยุโรป(ส่วนมากจากรัสเซีย และโปแลนด์)ได้เดินทางอพยพเข้าปาเลสไตน์ครั้งที่ 3 (3rd Aliya: 1919-1923) เนื่องด้วยคำประกาศบัลฟอร์ที่อำนวยความสะดวกให้ บวกกับวิกฤติต่างๆที่เกิดขึ้นในยุโรปในตอนนั้น

ไวซ์มันน์ถือว่าคำประกาศบัลฟอร์เป็นหนึ่งในความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของขบวนการไซออนิสต์(ในสมัยนั้น)

::: 11 กันยายน 1918 สงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติ :::

ปี 1922 [2464]
- สภาของสันนิบาตชาติ (League of Nations) อนุมัติให้ปาเลสไตน์เป็นดินแดนในอาณัติของอังกฤษ โดยได้รับหลักการของคำประกาศบัลฟอร์ พร้อมกับย้ำถึงความผูกพันเชิงประวัติศาสตร์ของชาวยิวต่อดินแดนปาเลสไตน์

สันนิบาตชาติได้พูดถึงการก่อจัดตั้งถิ่นพำนักของชาวยิว (Jewish National Home) องค์กรปกครองตนเองต่าง ๆ และให้มีองค์การชาวยิว (Jewish Agency) คอยให้คำแนะนำและร่วมมือกับคณะบริหาร ปาเลสไตน์ในเรื่องที่เกี่ยวกับถิ่นพำนักของชาวยิว

การปกครองแบบอาณัติ (British Mandate for Palestine) เริ่มมีผลอย่างเป็นทางการในวันที่ 29 กันยายน 1923

Ref:  Ummah Islam

[Timeline: The Founding of the State of Israel]