:::
หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 :::
ปี 1925 [2468]
-
มีการก่อตั้งกลุ่มไซออนิสต์ใหม่ (Revisionist
Zionists) นำโดย Vladimir
Jabotinsky (วลาดิมีร์ ยาโบทินสกี)
โดยมีเป้าหมายที่จะก่อตั้งรัฐของชาวยิวในดินแดนทั้งหมดของปาเลสไตน์ (ทั้งสองฝั่งของแม่น้ำจอร์แดน)
จึงได้จัดตั้งกองกำลังของตนขึ้น ซึ่งพร้อมจะห้ำหั่นชาวอาหรับทุกเมื่อหากขัดขวางความปรารถนา
ปี 1924-1928 [2467-2471]
-
ชาวยิวชุดที่ 4 อพยพเข้าดินแดนปาเลสไตน์ (Fourth
Aliya) จำนวน 80,000 คน ครึ่งหนึ่งเป็นชาวโปแลนด์
ปี 1929 [2472]
-
ชาวยิวรู้ดีว่าเมื่อการปกครองแบบอาณัติสิ้นสุดลง อนาคตของภูมิภาคนี้จะถูกตัดสินด้วยขนาดของประชากรและกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
ชาวยิวจึงพยายามอพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐานและซื้อที่ดิน ขณะที่ชาวอาหรับก็พยายามชะลอหรือยับยั้งการกระทำทั้งสองอย่างนี้
ปี 1936 [2479]
-
ชาวอาหรับปาเลสไตน์ลุกขึ้นมาต่อต้านการเพิ่มจำนวนอย่างมากมายของชาวยิว
ปี 1937 [2480]
-
รัฐบาลอังกฤษได้ส่ง Lord Robert Peel (ลอร์ด โรเบิร์ต พีล) เข้าสอบสวนสถานการณ์รุนแรงซึ่งได้รายงานว่า
สาเหตุเกิดจากความปรารถนาของชาวอาหรับที่จะได้เอกราช และความหวั่นเกรงต่อการอพยพของชาวยิวเข้าสู่ปาเลสไตน์
รายงานชี้ว่า ระบบการปกครองแบบอาณัติใช้ไม่ได้ผล และพันธกิจของอังกฤษต่อชาวอาหรับกับชาวยิวก็ไปด้วยกันไม่ได้
“ต่างฝ่ายต่างถูกทั้งคู่” จึงเสนอให้แบ่งดินแดนปาเลสไตน์เป็นส่วน ๆ นับเป็นครั้งแรกที่อังกฤษพูดชัดเจนถึงการมีรัฐยิว
นอกจากคณะกรรมการสอบสวนชุดนี้จะจัดสรรพื้นที่รัฐยิวให้ในขนาดที่ใหญ่กว่าการถือครองที่ดินของชาวยิวในเวลานั้นแล้ว
ยังได้เสนอให้อพยพชาวอาหรับออกจากเขตที่จะให้เป็นรัฐยิวด้วย ผลก็คือยิ่งทำให้สถานการณ์ความขัดแย้งรุนแรงขึ้น
ฝ่ายไซออนนิสต์ต่างผนึกกำลังกันภายใต้การนำของ David
Ben-Gurion (เดวิด เบน-กูเรียน)
และกองกำลังฮากานาห์ก็ได้รับอนุญาตให้ติดอาวุธตนเองได้ กองกำลังนี้ได้ร่วมมือกับอังกฤษโจมตีชาวอาหรับ
ปี 1938 [2481]
-
อังกฤษต้องหันมาทบทวนนโยบายต่อดินแดนปาเลสไตน์ใหม่ เพราะรู้ดีว่าถ้าอังกฤษเข้าสู่สงคราม
(ซึ่งจะกลายเป็นสงครามโลกครั้งที่ 2 ในเวลาต่อมา) อังกฤษจะรับศึกสองด้านไม่ไหว เพราะประเมินว่าชาวอาหรับในปาเลสไตน์และประเทศข้างเคียงต้องฉวยโอกาสเล่นงานอังกฤษแน่นอน
อังกฤษจึงตั้งคณะกรรมการอีกชุดหนึ่งเพื่อประเมินความเหมาะสมในเรื่องการแบ่งดินแดนปาเลสไตน์เป็นส่วนของชาวยิวกับชาวอาหรับ
ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้ลงความเห็นคัดค้านข้อเสนอของคณะกรรมการชุดของพีล ด้วยเหตุผลหลักที่ว่า
จำนวนของชาวอาหรับในเขตที่เสนอให้เป็นรัฐยิวนั้นจะเกือบเท่ากับจำนวนชาวยิวเลยทีเดียว
พร้อมกับเสนอให้ลดขนาดของรัฐยิวให้เล็กลง และให้รัฐนี้มีอธิปไตย อย่างจำกัด
ปี 1939 [2482]
-
อังกฤษล้มเลิกความคิดเรื่องแบ่งดินแดน แล้วจัดประชุมโต๊ะกลมขึ้นที่กรุงลอนดอน
และรัฐบาลอังกฤษได้ออกสมุดปกขาว (White Paper) ซึ่งมีเนื้อหาโน้มเอียงตามข้อเรียกร้องของฝ่ายอาหรับ
สมุดปกขาวระบุว่า ถิ่นพำนักของชนชาติยิวควรก่อตั้งขึ้นภายในรัฐเอกราชปาเลสไตน์
ในช่วง 5 ปีข้างหน้าจะอนุญาตให้ชาวยิวอพยพเข้าไปอาศัยในดินแดนนั้น 75,000 คน แล้วหลังจากนั้นให้ขึ้นกับ “ความ ยินยอม” ของชาวอาหรับ การซื้อขายเปลี่ยนมือที่ดินไปสู่ชาวยิวจะทำได้เฉพาะในเขตที่กำหนด
และจะพิจารณาให้มีรัฐเอกราชปาเลสไตน์ภายใน 10 ปี
ปี 1929-1939 [2472-2482]
-
ชาวยิวชุดที่ 5 อพยพเข้าดินแดนปาเลสไตน์ (Fifth Aliya)
จำนวน 300,000 คน เนื่องจากเศรษฐกิจในปาเลสไตน์กำลังเติบโตหลังพ้นวิกฤติจากปี
1920 ขณะเดียวกันที่อเมริกากีดกันการเปิดประตูให้ผู้อพยพเช้ายิวเข้ามาตั้งถิ่นฐาน
และกระแสการกวาดล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวหลังจากที่ฮิตเลอร์เริ่มเข้ามามีอำนาจในประเทศเยอรมัน
การอพยพชุดนี้ได้สิ้นสุดลงเมื่อเกิดสงครามโลกครั้ง 2
ถึงชาวอาหรับจะชมชอบนโยบายใหม่ แต่ก็ไม่ยอมรับสมุดปกขาว เพราะไม่ไว้ใจอังกฤษ
และไม่เห็นด้วยกับบทเฉพาะกาลที่อาจยืดการปกครองแบบอาณัติต่อไปจากช่วงเวลา 10
ปีดังกล่าว
Ref: Ummah Islam
[Timeline: The
Founding of the State of Israel]