:::
สงครามโลกครั้งที่ 2 :::
ปี 1939-1945 [2482-2488]
-
เกิดเหตุการณ์พันธุฆาตหรือการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์(The
Holocaust)ชาวยิวกว่า 6 ล้านคน โดยกองทัพนาซีและฝ่ายสนับสนุน ซึ่งออกคำสั่งโดย อดอล์ฟ
ฮิตเลอร์ ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2
ปี 1939 [2482]
-
ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 อังกฤษกับไซออนิสต์ก็ยิ่งดำเนินนโยบายสวนทางกันหนักขึ้น เพราะไซออนิสต์อยากให้ชาวยิวเข้าไปตั้งถิ่นฐานในปาเลสไตน์
ขณะที่อังกฤษพยายามขัดขวาง เนื่องจากเห็นว่าการหลั่งไหลเข้าไปของชาวยิวจะคุกคามต่อเสถียรภาพในภูมิภาคนั้น
ถึงแม้สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างไซออนิสต์กับอังกฤษจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น
เดวิด เบน-กูเรียน ผู้นำชาวยิวไซออนิสต์ พยายามโน้มน้าวให้ชาวยิวร่วมรบกับกองทัพอังกฤษต่อสู้กับฮิตเลอร์
โดยประกาศในนามองค์การชาวยิวว่า “เราจะช่วยอังกฤษสู้ในสงครามครั้งนี้ เสมือนหนึ่งว่าไม่มีสมุดปกขาว
และเราจะสู้กับสมุดปกขาว เสมือนหนึ่งว่าไม่มีสงคราม”
ปี 1940-1942 [2483-2485]
-
ความพยายามของอังกฤษที่จะกีดกันการอพยพของชาวยิวในยุโรปสู่ปาเลสไตน์
นำไปสู่การจมเรือของผู้อพยพชาวยิว 2 ลำ คือ Patria แพตเรีย (พฤศจิกายน 1940) กับ Struma สตรูมา (กุมภาพันธ์ 1942)
ปี 1944 [2487]
-
ขบวนการใต้ดินปีกขวาของชาวยิวในชื่อ Irgun
Zvai Leumi (เออร์กุน ซวาอี ลูมี)
ภายใต้การนำของ Menachem Begin (เมนาค์เฮม เบกิน) กับกลุ่มก่อการร้าย LEHI
(เลฮี) หรือ “นักรบเพื่อ อิสรภาพของอิสราเอล”
ได้เปิดฉากโจมตีอังกฤษอย่างหนักเพื่อเป็นการตอบโต้ และจบลงด้วยการสังหาร
Lord
Moyne (ลอร์ด มอยน์) รัฐมนตรีต่างประเทศของอังกฤษ
ด้วยฝีมือของสมาชิกกลุ่มเลฮี 2 คนในเดือนพฤศจิกายน 1944
ปี 1945 [2488]
-
สันนิบาตอาหรับ ได้ก่อตั้งขึ้นในเดือนมีนาคม 1945 และแต่งตั้งคณะกรรมการอาหรับ (Arab
Higher Committee) ซึ่งประกอบ
ด้วยบรรดาผู้นำชาวปาเลสไตน์ขึ้นเป็นปากเสียงแทนชาวอาหรับปาเลสไตน์
:::
2 กันยายน 1945 สงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติ :::
-
ประธานาธิบดี แฮรี่ เอส. ทรูแมน (Harry
S. Truman) ของสหรัฐ ได้ออกหน้าขอร้องให้นายกรัฐมนตรีของอังกฤษ
คลีเมนต์ แอตต์ลี (Clement Attlee) ช่วยรับชาวยิวผู้รอดชีวิต 100,000 คนเข้าไปอาศัยในปาเลสไตน์ และในเดือนธันวาคม วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐ
ได้ร้องขอให้มีการรับชาวยิวไม่จำกัดจำนวน เข้าไปอยู่ในปาเลสไตน์เท่าที่ศักยภาพทางเศรษฐกิจของดินแดนนั้นจะรองรับได้
ท่าทีของทรูแมนเป็นการส่งสัญญาณว่า ต่อไปนี้ สหรัฐจะขอเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องอนาคตของปาเลสไตน์ด้วย
-
พฤศจิกายน 1945 อังกฤษกับสหรัฐได้ร่วมกันตั้งคณะกรรมการขึ้นกำหนดเป็นนโยบายว่า
ชาวยิวจะอพยพเข้าสู่ปาเลสไตน์ได้ในอัตรา 1,500 คนต่อเดือน ซึ่งเกินโควตา 75,000 คน ที่สมุดปกขาวได้กำหนดไว้เมื่อปี 1939
-
ธันวาคม 1945 สันนิบาตอาหรับประกาศคว่ำบาตรสินค้าของพวกไซออนิสต์
ปี 1946 [2489]
-
อังกฤษกับสหรัฐได้จัดการประชุมที่กรุงลอนดอนร่างแผนการจัดตั้งเขตปกครองตนเองของชาวอาหรับและของชาวยิว
-
ผู้อพยพชาวยิวได้หลั่งไหลเข้าสู่ปาเลสไตน์โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นจำนวนมาก
-
มิถุนายน 1946 ที่ซีเรีย ฝ่ายอาหรับ มีการประชุมกลุ่มประเทศอาหรับ ซึ่งมีมติลับให้โจมตีผลประโยชน์ของอังกฤษกับสหรัฐในตะวันออกกลาง
หากสิทธิของชาวอาหรับถูกมองข้าม
-
22 กรกฎาคม 1946 กองกำลังเออร์กุนได้ระเบิดโรงแรมคิงเดวิด ซึ่งเป็นที่ตั้งของที่ทำการของรัฐบาลและกองทัพอังกฤษ
ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 91 ราย
ปี 1947 [2490]
-
31 สิงหาคม 1947 คณะกรรมการพิเศษว่าด้วย ปาเลสไตน์ของสหประชาชาติ (UNSCOP:
The United Nations Special Committee on Palestine) ได้แนะนำให้แบ่งดินแดนปาเลสไตน์เป็นรัฐอาหรับกับรัฐยิว และให้เยรูซาเล็มกับอาณาเขตโดยรอบเป็นเขตนานาชาติ
(UN
Partition Plan for Palestine)
-
29 พฤศจิกายน 1947 ข้อเสนอการแบ่งดินแดนปาเลสไตน์ได้รับการรับรองด้วยเสียง 2 ใน 3 ของสมัชชาแห่งสหประชาชาติ(United
Nations General Assembly) ตามข้อมติลง ซึ่งเสียงข้างมากนี้ เป็นผลจากการตกลงกันระหว่างสหรัฐกับสหภาพโซเวียต
และเป็นเพราะบรรดาคนที่เข้าข้างไซออนนิสต์ในสหรัฐ ได้กดดันประเทศเล็ก ๆ ให้ยอมรับแผนการนี้
ไซออนิสต์ยินดีกับแผนแบ่งแยกปาเลสไตน์ เพราะข้อเสนอนี้เห็นชอบกับการมีรัฐยิว
อีกทั้งยังจัดสรรดินแดนปาเลสไตน์ (ฟากตะวันตกของจอร์แดน) ถึง 55% ให้เป็นรัฐยิวด้วย
ฝ่ายอาหรับคัดค้านข้อเสนอนี้อย่างแข็งกร้าว เพราะชาวอาหรับจะกลายเป็นชนส่วนน้อยในรัฐยิวไปในทันที
ปี 1948 [2491]
กำเนิดรัฐอิสราเอล (The State of
Israel)
-
14 พฤษภาคม 1948 ที่พิพิธภัณฑ์กรุงเตล อาวีฟ เดวิด เบน-กูเรียน นายกรัฐมนตรีคนแรกของอิสราเอลได้ประกาศสถาปนารัฐอิสราเอลอย่างเป็นทางการ
และในวันเดียวกันนี้สหรัฐประกาศรับรองการมีอยู่ของรัฐอิสราเอล
-
15 พฤษภาคม 1948 อังกฤษตัดสินใจยุติการปกครองแบบอาณัติ (End
of British Mandate)
Ref: Ummah Islam
[Timeline:
The Founding of the State of Israel]