วันจันทร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ดังกิ้นโดนัท : บอยคอต & ต้องสงสัย


บอยคอต
ดังกิ้นโดนัท (DUNKIN’ DONUTS) ร้านจำหน่ายโดนัท แฟนซีโดนัท คุ้กกี้ มันช์กินส์ มัฟฟิน แซนด์วิช และเครื่องดื่ม เจ้าของลิขสิทธิ์คือ ดังกิ้น โดนัท คอร์ปอเรชั่น ซึ่งเป็นบริษัทสัญชาติอเมริกัน ก่อตั้งขึ้น เมื่อปี ค.ศ.1951 โดยนายวิลเลียม โรเซนเบิร์ก ปัจจุบันมีร้านมากกว่า 8,800 แห่งทั่วโลก

นอกจากจะเป็นบริษัทสัญชาติอเมริกันแล้ว ดังกิ้นโดนัทยังได้ให้ความช่วยเหลือทหารอเมริกาและครอบครัว โดยเป็นผู้สนับสนุนให้กับองค์กร บ้านสำหรับกองทัพของเรา” (Homes for Our Troops) ซึ่งเป็นองค์กรที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี2004 เพื่อช่วยเหลือทหารผ่านศึกอเมริกาที่ได้รับบาดเจ็บจากสงครามในอิรักและอัฟกานิสถาน โดยดังกิ้นโดนัทถือว่าทหารเหล่านั้นคือผู้เสียสละให้กับประเทศชาติ และเมื่อไม่นานมานี้ดังกิ้นโดนัท ได้จัดกิจกรรมวันกาแฟเย็น (Iced Coffee Day) ขึ้นเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2009 ในประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อประชาสัมพันธ์ให้คนมาซื้อกาแฟเย็น ทั้งนี้เพื่อที่จะได้บริจาคผลกำไร 5 เซนต์ ต่อแก้วให้กับองค์กรดังกล่าว

ต้องสงสัย
ร้านดังกิ้น โดนัท นอกจากจะขายสินค้าที่ไม่หะล้าลปนอยู่ด้วย เช่น แซนด์วิชแฮม แล้ว ยังได้รับการเตือนถึงส่วนประกอบที่อาจไม่หะล้าล โดยเวบไซต์ของกลุ่มผู้บริโภคมุสลิม (Muslim Consumer Group: MCG) ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ออกมาเตือนถึงส่วนประกอบที่ต้องสงสัยว่า ดังกิ้นโดนัทหลายรายการมีส่วนประกอบของแอล-ซีสเตอีน (L-Cysteine) ซึ่งอาจสกัดมาจากแหล่งที่ไม่หะล้าล คือขนเป็ด ขนไก่ รวมถึงเส้นผมของมนุษย์ด้วย ทั้งนี้แอล-ซีสเตอีนที่ใช้ในอเมริกาส่วนมากผลิตจากเส้นผมคนเนื่องจากมีราคาถูก 

ผลิตภัณฑ์ของร้านดังกิ้นโดนัท ที่ทางกลุ่มผู้บริโภคมุสลิมในสหรัฐอเมริกาได้ออกมาเตือนประกอบไปด้วย 
    1. ช็อกโกแลต โคโคนัท เค้ก โดนัท     2. ช็อกโกแลต เกลซ เค้ก โดนัท     3. ดับเบิ้ล ช็อกโกแลต เค้ก โดนัท     4. วีธ เกลซ เค้ก โดนัท     5. เกลซ ช็อกโกแลต เค้ก มันช์กินส์     6. เกลซ ช็อกโกแลต เค้ก สติ๊ก     7. เบเกิล

และจากกระดานเสวนาของศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เกี่ยวข้องได้ออกมาให้ข้อมูลที่เกี่ยวกับส่วนผสมของแป้งโดนัทว่า กรณีของแป้งโดนัทนี้ คงต้องสืบไปถึงผู้ผลิตว่าในการผลิตแป้งของบริษัท มีการใช้ส่วนผสมอะไรบ้าง ซึ่งถ้าพูดถึงส่วนผสมจากเส้นผม นั่นก็คือใช้เป็นแหล่งแอล-ซีสเตอีนที่ทำให้แป้งนุ่มขึ้นและยืดหยุ่นขึ้น ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ไม่ได้ใช้กันทุกที่ ทุกบริษัท แต่เป็นปัญหาที่เจอในปัจจุบันว่า อาจปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์หลาย ๆ ผลิตภัณฑ์

ทั้งนี้ ฟัตวาเกี่ยวกับแอล-ซีสเตอีนมีปรากฏอยู่ในอิสลามเว็บซึ่งดูแลโดยดร.อับดุลลอฮฺ อัล-ฟากีฮฺ โดยระบุว่าผลิตภัณฑ์ที่สกัดจากผมคนเป็นที่ต้องห้าม สามารถดูรายละเอียดได้ที่
http://www.islamweb.net/ver2/Fatwa/ShowFatwa.php?lang=E&Id=90343&Option=FatwaId

แหล่งข้อมูลอ้างอิง
http://www.homesforourtroops.org/site/News2?page=NewsArticle&id=6775&news_iv_ctrl=1441
http://www.muslimconsumergroup.com/Events.do?menu=Events&eventAction=eventdetail&eventId=245
http://www.halalscience.org/th/main/webboard.php?option=answers&qNo=23&kword=

http://www.albalagh.net/halal/col2.shtml