สตาร์บัคส์ (Starbucks) ร้านจำหน่ายกาแฟอันดับ 1 ของสหรัฐอเมริกา มีสาขามากกว่า 16,635 แห่งทั่วโลก ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ.1971 ในซีแอตเติล โดยคอกาแฟสามคนคือนายซิฟ ซีเกิล (Ziv
Siegle) เชื้อสายยิว นายกอร์ดอน
โบเคอร์ (Gordon Bowker) และนายเจอรี บัลด์วิน (Jerry Baldwin) ต่อมาในปี 1982 โฮเวิร์ด ชูลทส์ (Howard Schultz) ซึ่งก็เป็นชาวยิวเช่นกัน ได้เข้ามาร่วมงานกับสตาร์บัคส์ โดยบริหารงานด้านการตลาด
และค้าปลีก ปัจจุบันโฮวาร์ด ชูลทส์ ได้รับตำแหน่งเป็นซีอีโอของบริษัทยักษ์ใหญ่แห่งนี้
นอกจากนี้สตาร์บัคส์ยังมีบริษัทในเครือได้แก่บริษัทจำหน่ายชา "ทาโซ" (Tazo)
เฮียร์ มิวสิค" (Hear Music) ซีแอตเติล เบสท์ คอฟฟี่" (Seattle's
Best Coffee) น้ำดื่มบริสุทธิ์
อีธอส วอเตอร์ (Ethos Water) และ กาแฟ Torrefazione Italia
สตาร์บัคส์กับการสนับสนุนอิสราเอล
ในปี 1998 โฮวาร์ด ชูลทส์ ได้รับเกียรติจากกองทุนเยรูซาเล็มของนายอัยช์
ฮาเตารอต เนื่องในโอกาสฉลองครบรอบ 50 ปี ประเทศอิสราเอล แด่เพื่อนผู้ให้การเอื้อเฟื้อสนับสนุนชาวยิว
ซึ่งนายโฮวาร์ด ชูลทส์ ผู้นี้ถือเป็นตัวจักรสำคัญในการสนับสนุนความใกล้ชิดระหว่างอเมริกาและอิสราเอล
สิ่งที่เขาทำถือเป็นเกียรติอย่างสูงโดยได้รับการเชิดชูความดีงามนี้ผ่านการโฆษณาโดยกระทรวงการต่างประเทศอิสราเอล
นายชูลทส์ยังเคยกล่าวปราศรัย ประณามชาวปาเลสไตน์ และเรียกร้องให้ผู้คนทั้งหลายเห็นใจและอยู่เคียงข้างอิสราเอล
เมื่อเศรษฐกิจในอิสราเอลย่ำแย่ บริษัทสตาร์บัคส์ได้ตัดสินใจที่จะก่อตั้งบริษัทในอิสราเอลโดยร่วมทุนกับกลุ่มทุนสัญชาติอิสราเอลชื่อ
“เดเลค กรุ๊ป” (Delek Group) เพื่อการขายกาแฟสตาร์บัคส์ในอิสราเอล การตัดสินใจนี้เป็นความผิดพลาดครั้งใหญ่
บริษัทสตาร์บัคส์ขาดทุนอย่างมหาศาลในปี 2003 และต้องปิดตัวลงในที่สุด แต่สตาร์บัคส์ก็ยังคงให้การทุนสนับสนุนอิสราเอลอย่างต่อเนื่องและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างคือ รางวัลในงานฉลองครบรอบ 50 ปี อิสราเอล นายชูลทส์ได้รับการเชิดชูผ่านหน้าเว็บไซต์ของสตาร์บัคส์
แต่เมื่อเกิดการบอยคอตขึ้น หน้าเว็บนั้นได้หายไปอย่างน่าฉงน
เป็นที่ทราบแล้วว่ารางวัลที่นายชูลทส์ได้รับนั้นมาจาก ’กองทุนเยรูซาเล็ม ของอัยช์ ฮาเตารอต’
ซึ่งเป็น กองทุนสนับสนุนการรุกรานปาเลสไตน์
นาย โฮเวิร์ด ชูลทส์ได้กล่าวเตือนชาวอเมริกันเชื้อสายยิวให้อย่าหลงอิ่มเอมใจ
จากการที่อิสราเอลรุกรานปาเลสไตน์ทำให้เกิดการประท้วงอิสราเอล นาย ชูลทส์ได้กล่าวในโบสถ์ยิวแห่งหนึ่งที่เมืองซีแอตเทิล
ว่า “หากผู้ใดออกจากโบสถ์ในคืนนี้และกลับไปยังบ้านโดยหลงลืมเรื่องเกี่ยวกับการต่อต้านชนเชื้อสายยิว
ผู้นั้นเป็นผู้ที่น่าอับอายยิ่ง” นายชูลทส์ได้เตือนบรรดาคนยิวให้เลิกนั่งอยู่ข้างหลังและไม่ทำอะไรเลย
เขากล่าวว่า สิ่งที่กำลังเกิดในตะวันออกกลางไม่ใช่ว่าจะถูกแยกให้อยู่เพียงที่นั่น การต่อต้านยิวในขณะนี้มีเพิ่มมากขึ้นโดยเริ่มตั้งแต่
1930’s
ปาเลสไตน์ไม่ได้กำลังหยุดทำงานและก็ไม่ได้กำลังหยุดการก่อการร้ายด้วย
เขาได้รับการปรบมืออย่างกึกก้องจากการปราศรัยครั้งนั้นและปลุกกระแสให้ผู้คนคล้อยตามเขาได้ไม่น้อย
หลังจากที่สตาร์บัคส์เข้าไปลงทุนในอิสราเอลและต้องปิดตัวลงเพราะขาดทุนอย่างมหาศาล
บรรดาชาวยิวต่างพากันเสียความรู้สึกและกล่าวหาสตาร์บัคส์ว่า “นี่เป็นเวลาที่บรรดาชนอเมริกันจะบอยคอตต่อกาแฟสตาร์บัคส์”
ประโยคนี้ได้แพร่กระจายไปทำให้มีผลต่อการหยุดดำเนินธุรกิจกับประเทศอิสราเอล
เนื่องจากการขาดศีลธรรมและความกล้าหาญ เพราะขณะที่สตาร์บัคส์ดูเหมือนจะอยู่ข้างอิสราเอลและอเมริกา
บริษัทก็ยังคงดำเนินธุรกิจกับประเทศที่ต่อต้านอเมริกา เช่น เลบานอน ซาอุดิอาราเบีย
การ์ตา รวมทั้งประเทศอื่นๆ ในแหลมอาราเบีย สตาร์บัคส์ควรแสดงความชัดเจนที่จะอยู่ข้างมิตรหรือศัตรูของอิสราเอลและอเมริกา
รวมทั้งการด้อยคุณภาพของสินค้าก็เป็นอีกปัจจัยที่บริษัทต้องปิดตัวลง ตอนนี้เป็นเวลาที่พวกเราต้องปิดสตาร์บัคส์
ขอให้ทุกท่านช่วยกันบอยคอตสตาร์บัคส์ด้วย
ในจุดยืนอันคลุมเครือของสตาร์บัคส์ต่อการดำเนินธุรกิจ เมื่อมีการรุกรานอัฟกานิสถานโดยประเทศสหรัฐอเมริกา
สตาร์บัคส์กลับให้การสนับสนุนโดยการส่งร้านกาแฟไปคอยให้บริการแก่ทหาร ไม่เพียงแค่นี้
สตาร์บัคส์ยังส่งกาแฟไปให้หน่วยงานกาชาดที่ทำงานในคูเวต อัฟกานิสถาน และอิรัก ทั้งหมดนี้ก็เพื่อสนับสนุนกองกำลังทหารอเมริกันในการเข้ารุกรานอัฟกานิสถานและอิรัก
แหล่งข้อมูลอ้างอิง http://www.inminds.com/boycott-starbucks.html
ที่มาสารมุสลีมะฮฉบับที่ 13